ทำความเข้าใจก่อนซื้อ! ภาษีคอนโดคิดอย่างไร?

14 Feb 2022
Cover - ทำความเข้าใจก่อนซื้อ ภาษีคอนโดคิดอย่างไร

หากพูดถึงเรื่องภาษี เชื่อว่าหลายคนจะต้องนึกถึงภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเสียเป็นส่วนใหญ่ เพราะเป็นภาษีใกล้ตัวซึ่งผู้มีรายได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดจะต้องแสดงรายการเงินได้เพื่อคำนวณภาษี แต่สำหรับผู้เป็นเจ้าของที่ดิน บ้าน หรือคอนโดมิเนียม จะมีภาษีอีกหนึ่งประเภทที่ถือเป็นเรื่องใกล้ตัวไม่แพ้กัน นั่นคือ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง หรือที่ท่านเจ้าของคอนโดมิเนียมมักเรียกว่า ภาษีคอนโด ซึ่งเมื่อปี พ.ศ. 2563 ได้เริ่มมีการเรียกเก็บภาษีคอนโดขึ้น นั่นจึงทำให้เจ้าของคอนโดมิเนียมหลายท่านสงสัยและไม่แน่ใจว่าตนเองต้องชำระภาษีคอนโดหรือไม่ หรือต้องเสียภาษีคอนโดเป็นจำนวนเท่าไหร่

ทำความรู้จักภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

ก่อนที่จะไปดูวิธีคำนวณภาษีคอนโด ขอพาทุกท่านไปทำความรู้จักภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างกันสักนิด โดยภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้ออกมาแทนที่ภาษีบ้านและโรงเรือน มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2562 โดยเริ่มต้นเก็บค่าภาษีคอนโดตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป

สำหรับผู้ที่ต้องชำระภาษีประเภทนี้ คือ ผู้ที่ครอบครองที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง ห้องชุด และคอนโดมิเนียม โดยไม่ว่าจะครอบครองเพื่อการพักอาศัยหรือปล่อยเช่าก็ต้องชำระค่าภาษีตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยวัตถุประสงค์การจัดเก็บภาษีประเภทนี้ คือ ต้องการกำหนดทิศทางการใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์ ลดการถือครองที่ดินเพื่อเก็งกำไร และรายได้จากภาษีคอนโดจะถูกนำไปพัฒนาท้องถิ่น

 

คำนวณภาษีคอนโด

รู้ไว้ก่อนซื้อ ภาษีคอนโดคำนวณอย่างไร

การคำนวณภาษีคอนโด นอกจากต้องใช้มูลค่าคอนโดมิเนียมเป็นเกณฑ์แล้ว ยังแบ่งเกณฑ์การคำนวณตามวัตถุประสงค์ ไม่ว่าจะเป็น การถือครองกรรมสิทธิ์เพื่อพักอาศัย หรือ เพื่อปล่อยเช่า โดยแบ่งการคำนวณ ดังนี้

1. กรณีครอบครองคอนโดมิเนียมหลังแรก

หากเป็นผู้ครอบครองคอนโดมิเนียมหลังแรกและยังมีชื่อในทะเบียนบ้าน โดยมีมูลค่าคอนโดมิเนียมไม่เกิน 50 ล้านบาท จะได้รับการยกเว้นภาษีคอนโดทันที แต่หากเป็นคอนโดมิเนียมหลังแรกที่มีชื่อในทะเบียนบ้าน แต่มูลค่าคอนโดมิเนียมเกินกว่า 50 ล้านบาท จะต้องนำมูลค่าส่วนที่เกินไปคำนวณอัตราภาษีตามเกณฑ์ ดังนี้

ภาษีคอนโด ขั้นที่ 1: มูลค่าคอนโดมิเนียมเกิน 50 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 75 ล้านบาท เสียภาษีคอนโด ร้อยละ 0.03

ภาษีคอนโด ขั้นที่ 2: มูลค่าคอนโดมิเนียมเกิน 75 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 100 ล้านบาท เสียภาษีคอนโด ร้อยละ 0.05

ภาษีคอนโด ขั้นที่ 3: มูลค่าคอนโดมิเนียมเกิน 100 ล้านบาท เสียภาษีคอนโด ร้อยละ 0.10

ตัวอย่างวิธีคำนวณภาษีคอนโดหลังแรก กรณีมูลค่าคอนโดมิเนียม 75 ล้านบาท คือ

มูลค่าคอนโดมิเนียม 75 ล้านบาท – มูลค่าคอนโดมิเนียม 50 ล้านบาทที่ไม่ต้องเสียภาษี = ส่วนต่าง 25 ล้านบาท

จากนั้นให้นำส่วนต่าง 25 ล้านบาท x ร้อยละ 0.03 เท่ากับว่าในปีภาษีนั้น ๆ ผู้ครอบครองคอนโดมิเนียมจะต้องเสียภาษีคอนโด 7,500 บาท

2. กรณีครอบครองคอนโดมิเนียมหลังที่สองเป็นต้นไป

สำหรับท่านใดที่ครอบครองคอนโดมิเนียมมากกว่า 1 แห่ง โดยมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ แต่ไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน จะไม่ได้รับการยกเว้นภาษีคอนโด และต้องชำระภาษีคอนโดตามเกณฑ์ ดังนี้

ภาษีคอนโด ขั้นที่ 1: มูลค่าคอนโดมิเนียมไม่เกิน 50 ล้านบาท เสียภาษีคอนโด ร้อยละ 0.02

ภาษีคอนโด ขั้นที่ 2: มูลค่าคอนโดมิเนียมเกิน 50 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 75 ล้านบาท เสียภาษีคอนโด ร้อยละ 0.03

ภาษีคอนโด ขั้นที่ 3: มูลค่าคอนโดมิเนียมเกิน 75 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 100 ล้านบาท เสียภาษีคอนโด ร้อยละ 0.05

ภาษีคอนโด ขั้นที่ 4: มูลค่าคอนโดมิเนียมเกิน 100 ล้านบาท เสียภาษีคอนโด ร้อยละ 0.10

ตัวอย่างวิธีคำนวณภาษีคอนโดหลังที่สองเป็นต้นไป กรณีมูลค่าคอนโดมิเนียม 10 ล้านบาท คือ

มูลค่าคอนโดมิเนียม 10 ล้านบาท x ร้อยละ 0.02 เท่ากับว่าในปีภาษีนั้นๆ ผู้ครอบครองคอนโดมิเนียมจะต้องเสียภาษีคอนโด 2,000 บาท

3. กรณีครอบครองคอนโดมิเนียมสำหรับปล่อยเช่า

นอกจากการซื้อคอนโดมิเนียมเพื่อการพักอาศัยจะต้องเสียภาษีคอนโดแล้ว การซื้อคอนโดมิเนียมเพื่อปล่อยเช่าจำเป็นต้องเสียภาษีคอนโดเช่นกัน และจะต้องเสียภาษีคอนโดในอัตราภาษีที่สูงกว่าการซื้อเพื่อพักอาศัย ดังนี้

ภาษีคอนโด ขั้นที่ 1: มูลค่าคอนโดมิเนียมไม่เกิน 50 ล้านบาท เสียภาษีคอนโด ร้อยละ 0.3

ภาษีคอนโด ขั้นที่ 2: มูลค่าคอนโดมิเนียมเกิน 50 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 200 ล้านบาท เสียภาษีคอนโด ร้อยละ 0.4

ภาษีคอนโด ขั้นที่ 3: มูลค่าคอนโดมิเนียมเกิน 200 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 1,000 ล้านบาท เสียภาษีคอนโด ร้อยละ 0.5

ภาษีคอนโด ขั้นที่ 4: มูลค่าคอนโดมิเนียมเกิน 1,000 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 5,000 ล้านบาท เสียภาษีคอนโด ร้อยละ 0.6

ภาษีคอนโด ขั้นที่ 5: มูลค่าคอนโดมิเนียมเกิน 5,000 ล้านบาท เสียภาษีคอนโด ร้อยละ 0.7  

ตัวอย่างวิธีคำนวณภาษีคอนโดสำหรับปล่อยเช่า กรณีมูลค่าคอนโดมิเนียม 150 ล้านบาท ซึ่งกรณีนี้จะต้องเสียภาษีจำนวน 2 ขั้น คือ

ขั้นที่ 1 นำมูลค่าคอนโดมิเนียม 50 ล้านบาทแรก x ร้อยละ 0.3 ผู้ครอบครองคอนโดมิเนียมจะต้องเสียภาษีคอนโดขั้นแรก 150,000 บาท

ขั้นที่ 2 นำมูลค่าคอนโดมิเนียมส่วนที่เหลือ หรือในกรณีนี้ คือ 100 ล้านบาท x ร้อยละ 0.40 ผู้ครอบครองคอนโดมิเนียมจะต้องเสียภาษีคอนโดขั้นที่สอง 400,000 บาท

ดังนั้น ในปีภาษีนั้นๆ ผู้ครอบครองคอนโดมิเนียมเพื่อปล่อยเช่า ต้องเสียภาษีคอนโด 150,000 + 400,000 = 550,000 บาท

 

ข้อควรรู้ ชำระภาษีคอนโดช่องทางใดได้บ้าง

เมื่อคำนวณภาษีเรียบร้อยแล้วก็มาถึงขั้นตอนการชำระภาษี เชื่อว่าหลายท่านน่าจะนึกถึงการชำระภาษีที่กรมสรรพากร แต่สำหรับภาษีคอนโดต้องบอกว่าไม่ใช่ เพราะภาษีคอนโดจะต้องชำระภาษีที่สำนักงานเขตที่ดิน การชำระภาษีคอนโดจะต้องชำระรูปแบบรายปี โดยสามารถชำระได้ทั้งช่องทางหลักและช่องทางออนไลน์ตามรายละเอียด ดังนี้

1. ช่องทางหลัก

พื้นที่กรุงเทพมหานครชำระภาษีคอนโดได้ที่สำนักงานเขตที่ดินที่ตั้งอยู่ หากเป็นพื้นที่ต่างจังหวัดสามารถชำระภาษีคอนโดได้ที่สำนักงานเทศบาล องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบล และในบางพื้นที่อาจมีจุดบริการเคลื่อนที่ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเสียภาษีคอนโด

2. ช่องทางออนไลน์

หากไม่สะดวกเดินทางไปชำระภาษีคอนโดด้วยตนเอง สามารถชำระภาษีคอนโดผ่านช่องทางออนไลน์ในแอปพลิเคชันของทุกธนาคาร โดยการชำระภาษีคอนโดจะต้องชำระภายในเดือนเมษายน ซึ่งหากเกินกำหนดจะมีเบี้ยปรับเริ่มต้นร้อยละ 10 เพราะฉะนั้น หากได้รับหนังสือประเมินชำระภาษีคอนโดแล้ว แนะนำให้ตรวจสอบรายละเอียดอย่างถี่ถ้วนและชำระภาษีคอนโดล่วงหน้า เพื่อไม่ให้ต้องแบกรับค่าปรับหากชำระล่าช้า

แม้หลายท่านอาจรู้สึกกังวลกับภาษีคอนโด เพราะเกรงว่าแต่ละปีต้องแบกรับค่าภาษีเพิ่มขึ้น แต่หากศึกษารายละเอียดอย่างดีแล้วจะเห็นว่าหากไม่ใช่ผู้ครอบครองคอนโดมิเนียมเพื่อการพักอาศัยมากกว่า 1 แห่งและมูลค่าที่ครอบครองยังไม่เกิน 50 ล้านบาท ท่านเจ้าของคอนโดมิเนียมแทบจะไม่ต้องกังวลภาษีคอนโดเลยแม้แต่น้อย และแม้ว่าจะครอบครองคอนโดมิเนียมหลายแห่ง ทั้งเพื่อการพักอาศัยและปล่อยเช่า แต่หากศึกษาภาษีคอนโดอย่างละเอียดก็สามารถวางแผนจัดการภาษีคอนโดและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ได้อย่างรัดกุม เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่าภาษีคอนโดไม่ใช่เรื่องไกลตัว การศึกษารายละเอียดอย่างถี่ถ้วนจะทำให้หมดกังวลและสามารถบริหารจัดการเรื่องภาษีได้ดีอย่างแน่นอน

แกรนด์ ยูนิตี้ เรามุ่งมั่นที่จะตอบทุกเหตุผลของการใช้ชีวิต เพื่อให้คุณได้ #ใช้ชีวิตบนเหตุผลของคุณ.