นอนหลับสนิทพักผ่อนสบาย Well-being ที่ ANIL Sathorn 12
23 Aug 2021ร่างกายมนุษย์หมุนไปตามนาฬิการ่างกาย (Circadian rhythms) ที่เกี่ยวข้องกับการตื่นและการนอนโดยตรง ซึ่งจังหวะการหมุนจะเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป ตัวเลขอยู่ที่ประมาณครึ่งชั่วโมงทุกๆ ทศวรรษ (10 ปี) โดยเริ่มตั้งแต่วัยกลางคน แน่นอนว่าความต้องการ ‘การนอนหลับ’ ของคนแต่ละวัยก็แตกต่างกันไป วัยรุ่นควรหลับคืนละ 8-10 ชั่วโมง ผู้ใหญ่ที่ 7 ชั่วโมงขึ้นไป หรือผู้สูงอายุตั้งแต่ 60-65 ปีที่ 7-9 ชั่วโมง การนอนหลับยังเกี่ยวข้องกับรูปแบบการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไปตามวัย อาทิ ผู้สูงอายุ 60-65 ปีขึ้นไปมักจะกระฉับกระเฉงตอนเช้าตรู่ เหนื่อยอ่อนในช่วงตอนเย็น ส่งผลให้เข้านอนเร็วกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับวัยรุ่นหรือวัยผู้ใหญ่ เพราะร่างกายของคนเราจะเปลี่ยนแปลงและเปลี่ยนไปตลอดชีวิต การได้นอนหลับสนิท เพียงพอ เหมาะกับความต้องการในแต่ละช่วงวัย จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องเอาใจใส่ในระยะยาว ทั้งพฤติกรรมส่วนตัวที่ส่งผลต่อการนอน สภาพแวดล้อมห้องนอน รวมถึงปัจจัยภายนอกที่ควรเอื้อให้เกิดการนอนหลับที่ ‘ดี’ จริงๆ
- How Much Sleep Do I Need? โดย Centers for Disease Control and Prevention
- How Age Affects Your Circadian Rhythm โดย Sleep Foundation
เราใช้ชีวิตไปตามแสงเจิดจ้าของพระอาทิตย์ มีสิ่งต่างๆ เกิดขึ้นมากมายระหว่างวัน จนบางครั้งก็หลงลืมที่จะให้ความสำคัญกับการพักผ่อน ยอมสละเวลาซ่อมแซมร่างกายและฟื้นฟูจิตใจ แลกกับการทำกิจกรรมอื่นๆ ที่มองว่าต้องมาก่อนการนอนหลับ และบ่อยครั้งก็ส่งผลเสียมากกว่าผลเสียต่อนาฬิการ่างกายของเรา
แสงคือศัตรูตัวฉกาจของการนอนหลับที่ดี เพราะนาฬิการ่างกายมีความสัมพันธ์ต่อช่วงเวลากลางวันและกลางคืน หมายความว่ามันตอบสนองต่อ ‘ความสว่าง’ และ ‘ความมืด’ รอบตัวเราร่างกายของเราจะเข้าสู่โหมดนอนหลับเมื่อรอบตัวมืดลง การที่มีแสงมารบกวนก็เท่ากับว่านาฬิการ่างกายจะหลุดจากวัฏจักรธรรมชาติของมัน โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ที่ช่วงเวลากลางคืนยังเจิดจ้าไปด้วยแสงนีออนจากป้าย แสงไฟจากถนน หรือแสงจากการจราจร
ยิ่งไปกว่านั้น ต้นกำเนิดแสงในบ้านหรือในห้องนอนยังมีบทบาทสำคัญต่อการนอนหลับที่ดี ไม่ว่าจะเป็นแสงเล็กจิ๋วจากเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่บังแสงหรือผ้าม่านหน้าต่าง ความสว่างของหลอดไฟในห้องนอน หรือแม้แต่รูปแบบไฟนำทางเมื่อต้องลุกไปเข้าห้องน้ำกลางดึก รายละเอียดเล็กๆ ที่มักถูกมองข้ามเหล่านี้อาจกำลังขัดขวาง A Good Night’s Sleep โดยไม่รู้ตัว
- Street Lights and Circadian Sleep Cycles โดย City of Cambridge
- Circadian Rhythms โดย National Institute of General Medical Sciences
- What Is Circadian Rhythm? โดย Sleep Foundation
อีกหนึ่งภัยร้ายที่เรามองไม่เห็นแต่อาจได้ยินชัดเจนก็คือ เสียงรบกวนจากภายนอก (Environmental noise) โดยเฉพาะเสียงรถราบนท้องถนน เสียงรถฉุกเฉิน เสียงเครื่องบิน ที่เพิ่มการหลับระยะแรก ที่ถูกปลุกให้ตื่นได้ง่ายๆ แต่กลับลดการหลับระยะ 3-4 ที่เป็นช่วงหลับลึก (Slow wave) และระยะสุดท้ายหรือ REM ที่สมองมีความตื่นตัวสูง โดยสรุปแล้วคือนอนหลับไม่สนิท ไม่เต็มอิ่มนั่นเอง
เมื่อสมองและร่างกายถูกปลุกให้ตื่นด้วยเสียงรบกวนบ่อยๆ การนอนหลับจะไม่สมบูรณ์ ไม่ครบทุกระยะตามที่ควร ยิ่งถ้าเป็นเสียงที่ทำให้ตกใจหวาดกลัว ก็อาจส่งผลต่อการหลั่งฮอร์โมนที่ผิดปกติ หัวใจเต้นแรง หรือความดันพุ่งสูง และแม้กระทั่งเสียงเบาๆ ที่เราอาจคิดว่าชินแล้ว เช่น เสียงแจ้งเตือนจากโทรศัพท์ เสียงปี๊บเบาๆ ที่ไม่ได้ปลุกให้ตื่น ก็ส่งผลต่อจิตใต้สำนึกและการหลับบางระยะด้วยเช่นกัน
เสียงรบกวนส่งผลเสียต่อการนอนหลับยามค่ำคืนแบบทันทีทันใด แล้วยังส่งผลกระทบในเช้าวันถัดไป ในรูปแบบของความรู้สึกที่ไม่สดชื่น ไม่กระปรี้กระเปร่าเมื่อตื่นนอน และที่สุดแล้วหาก ‘นอนไม่พอ’ บ่อยๆ เข้าก็อาจนำไปสู่ปัญหาทางร่างกายและจิตใจในระยะยาว สำหรับพื้นที่ในบ้านหรือในห้องนอน การติดตั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีเสียงรบกวนน้อย หรือการเลือกใช้กระจกคุณภาพที่ช่วยกรองเสียงจากถนนใหญ่ ก็จะทำให้ร่างกายได้นอนหลับ ‘สนิท’ และพักผ่อน ‘เพียงพอ’ ซึ่งส่งผลต่อไปยังความเป็นอยู่ที่ดีโดยรวมของชีวิตอย่างแน่นอน หากเราตื่นเช้ามาอย่างสดชื่น เต็มเปี่ยมไปด้วยพลัง ก็จะสามารถใช้ชีวิตในวันนั้นๆ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดทั้งกับตัวเองและคนรอบข้าง
- Environmental noise and sleep disturbances: A threat to health? โดย Demian Halperin
- How Noise Can Affect Your Sleep Satisfaction โดย Sleep Foundation
กลับมาตอบคำถามที่ว่า “การนอนหลับที่ดี” หน้าตาเป็นอย่างไร? หากใช้ความรู้สึกของตนเองเป็นตัววัด มันคือการนอนหลับที่ทำให้เช้าวันต่อมาสดชื่น สดใส กระปรี้กระเปร่า คือความรู้สึก ‘อยากใช้ชีวิต’ อยากออกไปค้นพบว่าวันนี้มีอะไรรออยู่บ้าง และในทางวิชาการ Healthy Sleep คือการนอนหลับให้ครบทั้ง 5 ระยะ ไม่ขาดตอน จำนวนชั่วโมงเพียงพอ และรักษาตารางเวลาการนอนที่สม่ำเสมอให้เหมาะสมกับจังหวะนาฬิการ่างกายของตนเอง เพราะการนอนหลับคือกุญแจสำคัญในการฟื้นฟูร่างกายและจิตใจ อีกทั้งยังเป็นสิ่งที่ WELL Building Standard ใช้เป็นมาตรวัดหลักในระดับสากล เพื่อสร้างความตระหนักและสนับสนุนการใช้ชีวิตแบบ เป็น-อยู่-ดี มี Well-being ที่สมบูรณ์และยั่งยืน ANIL Sathorn 12 จึงให้ความสำคัญกับการออกแบบสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการนอนหลับที่ดี ที่เต็มอิ่ม ที่เพียงพอ สำหรับทุกๆ คนในครอบครัว ตั้งแต่การออกแบบแสงสว่างให้เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ใช้งาน และออกแบบเซนเซอร์เปิดไฟนำทางเฉพาะจุดเพื่อไปห้องน้ำในตอนกลางคืน โดยไม่ต้องเปิดไฟสว่างทั้งห้องให้รบกวนการนอน เราเลือกใช้กระจกคุณภาพที่ช่วยกรองเสียงทั้งจากถนนใหญ่และจากรถไฟฟ้า รวมทั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีเสียงรบกวนน้อย อาทิ เครื่องปรับอากาศและเครื่อง ERV นอกจากนี้ยังมี Active Ventilation Design ที่ช่วยเติมอากาศบริสุทธิ์ภายในห้องพัก ให้คุณสูดหายใจได้อย่างเต็มปอด รวมทั้งคอยปกป้องเราจากมลพิษทางอากาศ แบคทีเรีย เชื้อโรค และไวรัสต่างๆ รวมทั้งช่วยประหยัดพลังงานอีกด้วย
ANIL Sathorn 12 ตั้งใจเก็บทุกรายละเอียดที่เอื้อให้คุณนอนหลับได้สนิท พักผ่อนได้สบาย เพราทุกค่ำคืนที่เข้านอนนั้นส่งผลโดยตรงกับ Well-being ทั้งร่างกายที่แข็งแรง ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ รวมไปถึงความสุขสบายทางจิตใจ เป็นสุขภาวะที่ดีของผู้อยู่อาศัยอย่างแท้จริง
ลงทะเบียนรับสิทธิพิเศษ หรือศึกษาข้อมูล WELL Building Standard ที่โครงการ ANIL Sathorn 12 คลิก bit.ly/3CXyYRF
*เงื่อนไขเป็นตามที่บริษัทฯ กำหนด
นัดเข้าชมโครงการอย่างปลอดภัยด้วย Private Appointment กับที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้รับวัคซีนแล้ว หรือ ผ่าน Live Video Tours ได้ที่่
LINE Official : @GrandUnity? หรือคลิก lin.ee/43DSpj9sx
สามารถเข้าชมโครงการได้ทุกวัน เวลา 10. 00 – 17.00 น.?
โทรสอบถามเพิ่มเติม : 02 652 4000?